ถอนฟัน
อัพเดทล่าสุด: 12 มี.ค. 2025
47 ผู้เข้าชม
ถอนฟันทั่วไป | 600 บาท (ล้างและเย็บแผลเพิ่ม 100 บาท) |
ถอนฟันยาก หรือ ถอนฟันคุด | 1,000 บาท |
ผ่าฟันคุด | 1,500 - 3,500 บาท |
รากฟันเทียม | 26,000 บาท |
ปลูกกระดูก และ เมมเบรน | 5,000 บาท |
ปลูกเนื้อเยื่อ (Soft tissue graft) | 5,000 บาท |
X-Ray CT Scan | 3,500 บาท |
ถอนฟัน ราคาจะขึ้นอยู่กับความยาก-ง่ายในการถอนฟัน ซึ่งสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น ความลึกของตำแหน่งซี่ฟัน การซ้อนทับกับฟันซี่ข้างเคียง ความแข็งของกระดูกรอบรากฟัน และความโค้ง-ยาวของรากฟัน
ฟันคุด (Wisdom teeth) ส่วนใหญ่เป็นชื่อที่ใช้เรียกฟันกรามซี่ในสุด มีทั้งฟันบนและฟันล่าง ฟันคุดมักเริ่มพบได้ในช่วงอายุ17-25 ปี (ขึ้นอยู่กับบุคคลและลักษณะทางพันธุกรรม) โดยฟันคุดและฟันฝัง คือฟันที่ไม่สามารถงอกขึ้นมาได้ตามปกติในช่องปาก มักจะโผล่ขึ้นมาในช่องปากบางส่วน หรือฝังอยู่ในเหงือกและกระดูกทั้งหมด ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวด บวม หรืออักเสบได้ นอกจากนี้ ฟันคุดอาจเป็นจุดที่เกิดการสะสมของเศษอาหารและแบคทีเรียได้ง่าย
การนำเอาฟันคุดหรือฟันฝังออก จะใช้การผ่าตัดเล็กภายใต้ยาชาเฉพาะที่ โดยคนไข้จะไม่เจ็บ แต่อาจจะรู้สึกตึงบ้างเล็กน้อยในขณะที่ทำการรักษา
ข้อปฏิบัติหลังการถอนฟันหรือผ่าฟันคุด
1. กัดผ้าก็อซให้แน่นเพื่อห้ามเลือด 1-2 ชม. หากยังมีเลือดออกเพิ่ม ให้ใช้ผ้าก็อซสะอาดวางบริเวณแผล แล้วกัดแน่นต่อจนเลือดหยุดไหล
2. ห้ามรบกวนบริเวณแผล ห้ามใช้ลิ้นหรือสิ่งอื่นใดแตะดุนแผลเล่น
3. ไม่แนะนำให้บ้วนน้ำ น้ำลายหรือเลือด เนื่องจากการบ้วนอาจทำให้แผลขยับ และเลือดซึมออกมาใหม่
4. กรณีผ่าฟันคุด อาจใช้น้ำแข็งประคบข้างแก้มเพื่อลดอาการบวม 24 ชม.แรก หลังจากนั้นเปลี่ยนเป็นประคบอุ่นด้วยผ้าขนหนู
5. ทานยาแก้ปวดทุก 4-6 ชั่วโมง เฉพาะเวลามีอาการปวด
6. ในวันแรก ควรทานอาหารอ่อน หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด
7. ให้แปรงฟันได้ตามปกติ แต่ระวังอย่ากระแทกโดนบริเวณแผล และห้ามบ้วนน้ำแรงๆ งดใช้น้ำยาบ้วนปากในช่วง 1-2 วันแรก เพราะจะทำให้แผลหายช้า
8. อาจอมน้ำเกลืออุ่นๆ บ้วนปาก 3-5 ครั้งต่อวัน จะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น (เกลือ 1 ช้อนชาผสมน้ำอุ่น 1 แก้ว)
9. กรณีผ่าฟันคุด หรือถอนฟันซี่ยาก อาจจะได้รับยาปฏิชีวนะสำหรับป้องกันการติดเชื้อ ต้องทานตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ให้ทานยาต่อเนื่องจนยาหมด
10. ไม่ควรสูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์ และงดการออกกำลังกายหนักๆ
11. หากมีการปวด หรือบวมมากผิดปกติ หรือมีอาการแพ้ยา ควรรีบติดต่อทันตแพทย์

บทความที่เกี่ยวข้อง